วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รายงานผลการเลือกตั้ง3กรกฎาคม2554

                                รายงานผลการเลือกตั้ง 3 กค 2554Image hosted by Photobucket.com
-พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งกี่คน แบบบัญชีรายชื่อแบบบัญชีรายชื่อกี่คน  รวมได้สส.กี่คน

ชื่อพรรค                                   ส.ส.บัญชีรายชื่อ   ส.ส.แบ่งเขต      รวม   
1.เพื่อไทย                                      61                  204              265
2.ประชาธิปัตย์                                 44                  115              159
3.ภูมิใจไทย                                     5                   29                34
4.ชาติไทยพัฒนา                              4                   15                19
5.ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน                     2                    5                  7
6.พลังชล                                        1                    6                  7
7.รักประเทศไทย                               4                     -                   4
8.มาตุภูมิ                                        1                    1                   2
9.รักษ์สันติ                                      1                     -                   1
10,มหาชน                                      1                     -                   1
11.ประชาธิปไตยใหม่                        1                      -                   1

                     รวม                          125                 375             500
-พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยกี่พรรค  แต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส.กี่คน
พรรคร่วมรัฐบาลมี 6 พรรค
   
เพื่อไทยได้ 262 คน
   
ชาติไทยพัฒนาได้ 19 คน
    
ชาติพัฒนาแผ่นดินได้ 9 คน
   
พลังชลได้ 7 คน
    
มหาชนได้ 1 คน
   
ประชาธิปไตยใหม่ได้ 1 คน
   
รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส. 300 คน
 
-พรรคการเมืองฝ่ายค้านประกอบด้วยกี่พรรค แต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมฝ่ายค้านทั้งสิ้นกี่คน
พรรคฝ่ายค้านมี 5 พรรค
     
ประชาธิปปัตย์ได้ 160 คน
     
ภูมิใจไทยได้ 34 คน
     
รักประเทศไทยได้ 4 คน
     
มาตุภูมิได้ 2 คน
     
รักสันติได้ 1 คน
  
รวมฝ่ายค้านทั้งหมด 200 คน

มรดกโลก

มรดกโลก

มรดกโลก (อังกฤษWorld Heritage Siteฝรั่งเศสPatrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้ว เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดก โลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ มรดกโลกแห่งนั้น

การแบ่งประเภทของมรดกโลก
            มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมาย ถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมาย ถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก 

                   ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก

ประเทศ ที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่ง มีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ   และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา  ได้แก่ สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ใน ส่วนของมรดกทางธรรมชาติแล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ มรดกโลกทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้
            ปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๕๓) มีมรดกโลกทั้งหมด ๙๓๖ แห่ง ใน ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๗๒๕ แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ๑๘๓ แห่ง และอีก ๒๘ แห่ง  เป็น แบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา  อาหรับ  เอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป-อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา-แคริบเบียน 

พื้นที่
มรดกโลก
ธรรมชาติ
วัฒนธรรม
ผสม
ทั้งหมด
๓๓
๔๕
๘๒
๖๔
๗๐
๕๒
๑๔๓
๒๐๔
๕๙
๓๘๕
๑๐
๔๕๔
๓๕
๘๘
๑๒๖
  รวม
๑๘๓
๗๒๕
๒๘
๙๓๖
มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก
            ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐– ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖

ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง




                            

            และยังมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน    “บัญชีรายชื่อเบื้องต้น”   (Tentative List)  รอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกอีก ๒ แห่ง ได้แก่
     1. ปราสาทพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น” (Tentative List)  ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า ปราสาทหินพิมายและเส้นทางวัฒนธรรม และปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ” (Phimai, its Cultural Rout and the Associated  Temples of Phanomroong and Muangtam)
     2. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน บัญชีรายชื่อเบื้องต้น
( Tentative List)
 
ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ( Phuphrabat Historical Park)

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
 ไทยถอนมรดกโลก!ชี้ยูเนสโกไม่ฟังข้อทักท้วงข่าวต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ 26 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 01:02 น.
สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก ชี้ยู เนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระ วิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคณะกรรมการมรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
คณะ ผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคีคณะกรรมการ มรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
เพราะไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้ โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
คณะ กรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดัง กล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
โดย หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า สิ่งที่ยูเนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเองโดย บอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลย เห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมา ตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ 3 ปี ก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลาย อย่างในเขตแดนของไทย
นาย สุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้วย
                  

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งปี2554

                       


                             หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                                        หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์




                     


                       หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                        หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์  ชาญนุกูล   



                  


 
                      หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
                       หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์   




                                    หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
                                     หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช  




                                   หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 11 คน
                                    หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 

                                
                                 หมายเลข 6 พรรคพลังชล  จำนวนผู้สมัคร 18 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์

                                          
                                 หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม  จำนวนผู้สมัคร 25 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ  

                                      

                              หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย  จำนวนผู้สมัคร 13 คน
                               หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู  

                                      

                            หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
                             หัวหน้าพรรค : นายไกรภพ ครองจักรภพ 


                                          


                            หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                             หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  

                                            

                            หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
                             หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร 


  
                                         


                             หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ  จำนวนผู้สมัคร 64 คน
                             หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์  

                               

                           หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                            หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา  


             
                                    

                             หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                                หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร  



                                                                                             

                               หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย  จำนวนผู้สมัคร 10 คน

                               หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา  

                                          

                              หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                                หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  



                                               


                               หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 32 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร   

                                                       

                                 หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
                                    หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ    


                                           


                                หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย  จำนวนผู้สมัคร 30 คน
                                 หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง  



                                         


                              หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่  จำนวนผู้สมัคร 24 คน
                                หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์  โกศัยสุข  

                                            


                               หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา  



                                                


                                  หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม  จำนวนผู้สมัคร 8 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม 



                                                       
                                     หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี  จำนวนผู้สมัคร 9 คน
                                    หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช



                                               


                                    หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง  จำนวนผู้สมัคร 14 คน
                                    หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย 


                                    
    

                                    หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
                                     หัวหน้าพรรค : นายจำลอง  ดำสิม


                                                   


                                หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 40 คน
                                   หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน  


                                             

                             หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นาย พจน์กรณ์ ตันติภิรมย์



                                                


                             หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                              หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์ 


                                                 



                              หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
                               หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์  


                                              

                                  หมายเลข 30 พรรคมหาชน  จำนวนผู้สมัคร 6 คน
                                     หัวหน้าพรรค :  พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์



                                                       


                                 หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค  



                                              


                               หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน  จำนวนผู้สมัคร 1 คน
                                 หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร  


                                                                 


     
                              หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ  จำนวนผู้สมัคร 34 คน
                                  หัวหน้าพรรค : นายปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์



                                                         

   
                              หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่  จำนวนผู้สมัคร 125 คน
                                    หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม  


                                                    

                           หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ  จำนวนผู้สมัคร 3 คน
                            หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร



                                                


                           หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา  จำนวนผู้สมัคร 103 คน
                             หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย  


                                            

                          หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย  จำนวนผู้สมัคร 5 คน
                            หัวหน้าพรรค :นายสัมฤทธ์ิ แก้วทน


                                        


                     หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์  จำนวนผู้สมัคร 4 คน
                       รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์ 


                                          

                        หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย  จำนวนผู้สมัคร 23 คน
                            รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ   


                                             

                      หมายเลข 40 พรรคมหารัฐพัฒนา  จำนวนผู้สมัคร 2 คน
                        หัวหน้าพรรค : นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์