การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

                                                     การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
                                                   
     
            การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่     
     1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายู กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น 2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น มณฑลขึ้นกับ กระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง สุขาภิบาลซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
     สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น    การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร     จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น  เป็นต้น
มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ  คือ 
  1. มูลเหตุภายใน
        -    ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
        -    การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น   
        -    การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง  
  2. มูลเหตุภายนอก 
        -    หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม  
           สมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สมัยรัตนโกสินทร์  ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2394 - 2475   1. ด้านการปกครอง           รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย  จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว    เช่น   ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จ พระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน   ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง"  แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล  และตอนปลายรัชกาล   การปรับปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล  ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "            เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้   การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ 1.  กระทรวงมหาดไทย   2.  กระทรวงกลาโหม   3.  กระทรวงต่างประเทศ  4.   กระทรวงวัง  5.  กระทรวงเมือง (นครบาล)  6.  กระทรวงเกษตราภิบาล  7.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  8.  กระทรวงยุติธรรม            9.  กระทรวงธรรมการ  10. กระทรวงโยธาธิการ   11. กระทรวงยุทธนาธิการ  ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)  12. กระทรวงมุรธาธิการ  ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง) ส่วนภูมิภาค
     ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   มี  การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
                        
สมัยรัชกาลที่ 5มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า การปฏิรูปการปกครองอันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน